View

วันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2555

วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

วันเข้าพรรษา

วันเข้าพรรษา จัดเป็นพิธีกรรมของพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา โดยท่านต้องประพฤติปฏิบัติตามพระพุทธบัญญัติ (ข้อที่ตั้งขึ้นให้รู้ทั่วกันการกำหนดเรียก การวางเป็นกฎข้อบังคับ) ที่ทรงวางเป็นระเบียบ ข้อบังคับให้พระสงฆ์ ต้องเข้า จำพรรษา ในสถานที่ที่ทรงอนุญาตให้เข้าอาศัยอยู่ได้ และพิธีกรรมวันเข้าพรรษานี้ พุทธศาสนิกชนได้มีส่วนร่วมประกอบ คุณงามความดี ตามหน้าที่ของชาวพุทธ เพื่อช่วยเหลือพระสงฆ์ อีกทางหนึ่งด้วย ซึ่งมีประวัติที่น่าสนใจวันเข้าพรรษา เริ่ม ตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำเดือน ๘ จนถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๑ เรียกว่า ครบไตรมาส คือ ๓ เดือนนี่เป็นการเข้า "พรรษาต้น" ส่วนการเข้า"พรรษาหลัง" เริ่มตั้งแต่วันแรมค่ำ ๑ เดือน ๙ จนถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๒
 
พิธีกรรมของสงฆ์ ก่อนจะถึงวันเข้าพรรษา
     พระท่านจะทำการซ่อมแซมเสนาสนะที่ชำรุดทรุดโทรมให้อยู่ในสภาพที่ดีที่ใช้อยู่อาศัยได้ จัดการปัดกวาดหยากไย่เช็ดถู ให้สะอาด สาเหตุที่ต้องกระทำเสนาสนะให้มั่นคงและสะอาดก็เพื่อจะได้ใช้บำเพ็ญสมณกิจ ในช่วงเทศกาลเข้าพรรษา ได้เต็มที่ ไม่ต้องกลัวฝน จะรั่วรดอุโบสถ
     ไหว้พระสวดมนต์เสร็จแล้วจึงกระทำพิธีเข้าพรรษา โดยกล่าวอธิษฐานตั้งใจ เพื่ออยู่จำพรรษาตลอดฤดูฝน ในวันของ ท่านที่ตั้งใจจะอยู่
     คำกล่าวอธิษฐานพรรษาเป็นภาษาบาลีว่า "อิมัสะมิง อาวาเส อิมัง เตมาสัง วัสสัง อุเปมิ" แปลว่า "ข้าพเจ้าขออยู่จำพรรษาในวัดนี้ ตลอด ๓ เดือน" โดยกล่าวเป็นภาษาบาลีดังนี้ ๓ ครั้ง ต่อจากนั้นพระผู้น้อยก็กระทำ สามีกิจกรรม คือ กล่าวขอขมาพระผู้ใหญ่ว่า "ขอขมาโทษที่ได้ล่วงเกินไป ทางกาย วาจา ใจ เพราะประมาท" ส่วนพระผู้ใหญ่ ก็กล่าวตอบว่า อดโทษให้ เป็นอันว่าต่างฝ่าย ต่างให้อภัยกัน นับเป็นอันเสร็จพิธีเข้าพรรษาในเวลานั้น ครั้นวันต่อไปพระผู้น้อย ก็ จะนำดอกไม้ธูปเทียนไป กราบพระเถรานุเถระต่างวัด ผู้ที่ตนเคารพนับถือ
พิธีกรรมของพุทธศาสนิกชน อันเนื่องในวันเข้าพรรษา
     พุทธศาสนิกชนมีการกระทำบุญตักบาตรกัน ๓ วัน คือวันขึ้น ๑๔ - ๑๕ ค่ำ และวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ และขนมที่นิยม ทำกันในวันเข้าพรรษาได้แก่ ขนมเทียน และท่านสาธุชนที่มีความเคารพนับถือพระภิกษุวัดใด ก็จัดเครื่องสักการะ เช่น น้ำตาล น้ำอ้อย สบู่ แปรง ยาสีฟัน พุ่มเทียน เป็นต้น นำไปถวายพระภิกษุวัดนั้น ยังมีสิ่งสักการะบูชา ที่พุทธศาสนิกชน นิยมกระทำกันเป็นงานบุญอีกอย่างหนึ่งคือ "เทียนเข้าพรรษา"     บางแห่งจะมีการบอกบุญเพื่อร่วมหล่อเทียนแท่งใหญ่ แล้ว แห่ไปตั้งในวัดอุโบสถ เพื่อจุดบูชาพระรัตนตรัยตลอด ๓ เดือน การแห่เทียนจำนำพรรษา หรือเทียนเข้าพรรษา จัดเป็น งานเอิกเกริก มีฆ้องกลองประโคมอย่างสนุกสนาน และเทียนนั้นมีการหล่อหรือแกะเป็นลวดลาย และประดับตกแต่งกัน อย่างงดงาม
     เทศการเข้าพรรษานี้ ถือกันว่าเป็นเทศกาลพิเศษ ชาวพุทธ จึงขะมักเขม้นในการบุญกุศลยิ่งกว่าธรรมดา บางคนตั้งใจรักษา อุโบสถตลอด ๓ เดือน บางคนตั้งใจฟังเทศน์ทุกวันพระ ตลอดพรรษา มีผู้ตั้งใจทำความดีต่างๆ พิเศษขึ้น ทั้งมีผู้งดเว้น การกระทำบาปกรรมในเทศกาลเข้าพรรษา และบางคนอาศัย สาเหตุแห่งเทศกาลเข้าพรรษาตั้งสัตย์ปฏิญาณ เลิกอบายมุข และ ความชั่วสามานย์ต่าง ๆ โดยตลอดไป จึงนับเป็นบุคคลที่ควร ได้รับ การยกย่องสรรเสริญและได้รับ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น